คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์

ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนอธิบายไว้ว่า ความร้อนจากไฟขณะทำการครอบจะช่วยขับไล่ความเย็นที่อยู่ในเส้นลมปราณ ความเย็นมีกลไกของโรคทำให้การไหลเวียนของลมปราณติดขัดเมื่อเกิดการติดขัดก็จะทำให้เกิดอาการปวด เมื่อครอบเเก้วเเล้วลมปราณภายในร่างกายจะไหลเวียนเป็นไปอย่างปกติ อาการปวดจึงหายไป 

เมื่อมองตามหลักวิทยาศาสตร์การครอบแก้วคือการใช้สูญญากาศ ครอบไปยังบริเวณผิวหนัง การที่ผิวหนัง ถูกดูดด้วยแก้วที่เป็นสูญญากาศจะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นอย่างมาก เป็นการปั๊มเลือดเข้าสู่ กล้ามเนื้อบริเวณที่ทำการครอบเเก้ว หลอดเลือดฝอยขยายตัวขึ้น นำมาสู่การที่เนื้อเยื่อได้รับเลือดออกซิเจน มากขึ้น กระบวนการซ่อมแซมจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกหนึ่งวิธีของการครอบแก้วที่นิยมใช้กันคือ การ ครอบแก้วพร้อมกับการเดินแก้ว ลากไปตามแนวเส้นลมปราณหรือตามกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ เป็นการยืด กล้ามเนื้อ (Muscle) และ พังผืด (Fascia) ที่ระดับผิว (Superficial) ซึ่งสามารถลดความเจ็บปวดจาก กลุ่มโรคกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี 

การรักษาโรคโดยการครอบแก้ว (Cupping) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น  สามารถรักษาอาการปวด โดยเฉพาะบริเวณ บ่า หลัง และเอว (เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ) และด้านการส่งเสริมความงามช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด  หลังจากการทำครอบแก้วแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยคล้ำ  แต่ไม่มีอันตราย รอยจะหายเองในเวลาประมาณ 5 – 7  วันและสามารถทำได้อีกเมื่อรอยจางหาย 

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการครอบแก้ว 

  • สภาพร่างกาย ถ้าสภาพร่างกายอ่อนแอเกินไปก็ไม่เหมาะที่จะครอบแก้ว เพราะการครอบแก้วเป็นวิธีการระบาย จะทำให้คนที่ร่างกายพร่องยิ่งพร่องมากขึ้น 
  • สตรีมีครรภ์ สตรีมีครรภ์ห้ามครอบแก้วเพราะเสี่ยงต่อการเกิดการแท้งได้ง่าย 
  • คนชรา การครอบแก้วจะต้องครอบที่ผิวหนัง สำหรับคนชราอาจจะทนแรงดูดของการครอบแก้วไม่ไหว 
  • คนป่วยโรคหัวใจ การครอบแก้วไม่เหมาะกับคนที่เป็นโรคหัวใจเพราะจะเป็นตัวกระตุ้นให้โรคหัวใจกำเริบได้ 
  • คนที่บริเวณผิวหนังมีแผลเปิดและโรคผิวหนัง ไม่ควรครอบแก้ว 
ไซต์นี้ลงทะเบียนกับ wpml.org ในฐานะไซต์พัฒนา สลับไปยังไซต์การผลิตโดยใช้รหัส remove this banner.