ข้อห้ามในการนวดไทย
- ผู้ที่มีไข้สูงเกินกว่า ๓๘.๕ องศาเซลเซียส
- ผู้ที่กำลังป่วยด้วยโรคที่มีภาวะการณ์ติดเชื้อเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า ๑๖๐/๑๐๐ มิลลิเมตรปรอท ที่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- ผู้ที่มีบาดแผลเปิด แผลเรื้อรัง
- ผู้ที่มีรอยโรคผิวหนังที่สามารถติดต่อได้
- ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บภายใน ๔๘ ชั่วโมง หรือได้รับการผ่าตัดภายในระยะเวลา ๑ เดือน
- ผู้ที่มีอาการหลอดเลือดดำอักเสบ (Deep Vein Thrombosis)
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนรุนแรง
- ผู้ที่มีกระดูกแตก กระดูกหัก กระดูกปริร้าว บริเวณที่ผ่าตัดใส่เหล็กหรือข้อเทียม
- บริเวณที่เป็นมะเร็ง
ข้อควรระวังในการนวดไทย
- เด็ก ผู้สูงอายุ และหญิงตั้งครรภ์ (กรณีของหญิงตั้งครรภ์จะต้องได้รับการนวดด้วยความระมัดระวัง)
- ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า ๑๖๐/๑๐๐ มิลลิเมตรปรอท ที่ไม่มีอาการหน้ามืด ใจสั่น ปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงโป่ง หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดแข็ง
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน
- ผู้ที่มีประวัติเลือดออกผิดปกติ หรือรับประทานยาละลายลิ่มเลือด
- ผู้ที่มีภาวะข้อหลวม ข้อเคลื่อน ข้อหลุด
- ผู้ที่ยังไม่ได้รับประทานอาหาร หรือ หลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ไม่เกิน ๓๐ นาที
- ผู้ที่บาดแผลที่ยังหายไม่สนิทดี ผิวหนังแตกง่าย หรือได้รับการปลูกถ่ายผิวหนัง